คำอธิบาย
เพื่อจัดเวลามาตราฐานจึงแบ่งพื้นโลกออกไปตามเส้นศูนย์สูตร ๒๕ ส่วนๆ ละ ๑๕ ํ ของขอบ หรือ ๑ ชั่วโมง
เรียกว่า โซน เขตของโซนแรกนับจากเส้นเมอริเดียนที่ผ่านกรีนิชไปทางทิศตะวันออก ๗ ๑/๒ ํ และไปทางทิศตะวันตก ๗ ๑/๒ ํ
โซนนี้เรียกว่าโซนศูนย์ โซนที่อยู่ทางทิศตะวันออกนับตั้งแต่ -๑ ถึง -๑๒ โซนที่อยู่ทางทิศตะวันตกนับจากนี้ +๑ ถึง +๑๒
เครื่องหมายบวกหรือลบนี้หมายความว่าต้องนำไปบวกหรือไปลบกับเวลามาตราฐานของเรือจึงจะได้เวลากรีนิชสมมุติ
โซน ๑๒ แบ่งครึ่งด้วยเส้นเมอริเดียน ๑๘๐ ํ เป็นเส้นเปลี่ยนวันตามเส้นไข่ปลา เรือลำใดถ้าเดินไปทางทิศตะวันออก
คือจาก -๑๒ ไปยัง +๑๒ต้องร่นวันกลับไปหนึ่งวัน ถ้าเดินเรือจาก +๑๒ ไป -๑๒ ก็ต้องเพิ่มวันขึ้นหนึ่งวัน
ตำบลที่ใดๆ ก็ตามถ้าอยู่ในโซนเดียวกันเวลาที่ใช้ก็ย่อมเหมือนกัน ตามธรรมดาเวลามาตราฐานที่ประเทศต่างๆ
ใช้นั้น โดยมากมักถือไปตามเขตแดนของประเทศ แต่บางประเทศก็มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างดังปรากฎอยู่ในแผนที่นี้แล้ว
รูปนาฬิกาด้านบน มีเครื่องหมายบวกหน้าตัวเลข ถ้าอยู่ทางทิศตะวันตกของ กรีนิช และเครื่องหมายลบถ้าอยู่ทาง
ด้านตะวันออก ในโซนเวลาที่ ๑๒ อาจใช้เครื่องหมายบวกหรือลบ ขึ้นอยู่กับว่าตำบลที่นั้นอยู่ทางด้านโซนไหนของเส้นวันที่
สากล โซนเวลาอาจแทนที่ด้วยตัวเลข หรือตัวอักษรก็ได้ การที่จะกลับเวลาประจำภาคให้เป็นเวลา UT (GMT) จำนวนชั่วโมงที่
ให้ไว้ตามตัวเลขโซนจะถูกนำไปบวกหรือลบตามเครื่องหมายจากเวลาในเขตนั้น ตัวอย่าง ในโซนเวลา D (-4) ได้รับการรักษา
เวลาให้ห่าง ๔ ชั่วโมง เร็วกว่า UT (GMT) ดังนั้นใน ๒๐๐๐ เวลาท้องถิ่น (LT) (๒๐๐๐ Zone D) จะเป็นเวลา ๑๖๐๐
UT (GMT) (๑๖๐๐ Zone Z)
รูปนาฬิกาด้านล่างเวลาบนหน้าปัดนาฬิกาเป็นเวลาท้องถิ่นของแต่ละโซนเวลา ซึ่งอ้างอิงกับเส้นเมอริเดียนแรกตัวเลขโซน
แสดงจำนวนชั่วโมงที่โซนเวลานั้นล่วงหน้าและตามหลัง UT (GMT)
..........................................................................