กองทัพเรือ (โดยกรมอุทกศาสตร์) ร่วมกับ กรมเจ้าท่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ลงนามความร่วมมือด้านอุทกศาสตร์ และด้านเครื่องช่วยการเดินเรือ

Last updated: 8 ก.พ. 2567  |  178 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กองทัพเรือ (โดยกรมอุทกศาสตร์) ร่วมกับ กรมเจ้าท่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ลงนามความร่วมมือด้านอุทกศาสตร์ และด้านเครื่องช่วยการเดินเรือ

กองทัพเรือ (โดยกรมอุทกศาสตร์) ร่วมกับ กรมเจ้าท่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ลงนามความร่วมมือด้านอุทกศาสตร์ และด้านเครื่องช่วยการเดินเรือ เพื่อยกระดับงานด้านอุทกศาสตร์ และเครื่องช่วยการเดินเรือ บูรณาการงานและสร้างมาตรฐานเดียวกัน

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 พลเรือโท คมสัน กลิ่นสุคนธ์ เจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ เป็นผู้แทนกองทัพเรือ ในพิธีร่วมลงนาม mou บันทึกความร่วมมือด้านอุทกศาสตร์และด้านเครื่องช่วยการเดินเรือ โดยมีผู้ร่วมลงนามประกอบด้วย นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่าด้านปลอดภัยกรมเจ้าท่า นายคณพศ ขุนทอง รองผู้ว่าการสายงานปฏิบัติงาน 3 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและนายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ร่วมลงนาม ณ ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมความปลอดภัยและการจราจรทางน้ำ สำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ อาคาร 39 กรมเจ้าท่า โดยมีผู้บริหารกรมเจ้าท่า และหน่วยงานที่เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในครั้งนี้

ทั้งนี้ การลงนามบันทึกความร่วมมือด้านอุทกศาสตร์ และด้านเครื่องช่วยการเดินเรือ ระหว่างกองทัพเรือ กรมเจ้าท่า  การท่าเรือแห่งประเทศไทย และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการดูแล วางเครื่องหมายทางเรือ เพื่อยกระดับงานด้านอุทกศาสตร์ และด้านเครื่องช่วยการเดินเรือ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด ที่ทำให้การเดินเรือเข้ามาใช้น่านน้ำไทยของเรือต่างประเทศ และ เรือที่รับ ขนส่งสินค้าภายในน่านน้ำไทยและแม่น้ำสำคัญของประเทศ มีความความปลอดภัย มีเครื่องช่วยการเดินเรือที่สามารถรับทราบสถานะและความถูกต้องของตำแหน่งเพื่อใช้เป็นที่หมายอ้างอิงช่วยในการเดินเรือ รวมทั้งข้อมูลทางด้านอุทกศาสตร์ที่มีความแม่นยำ ทันสมัย มีช่องทางการเข้าถึงข้อมูลและรับ ข่าวสารได้หลากหลายช่องทาง การสร้างมาตรฐานที่เป็นหนึ่งเดียวด้านเครื่องหมายทางเรือ ในฐานะรัฐชายฝั่ง (Coastal State) ของประเทศไทย เริ่มตั้งแต่มาตรฐานผู้ปฏิบัติงาน มาตรฐานการติดตั้ง จัดวางที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล การสำรวจอุทกศาสตร์ การจัดทำแผนที่เดินเรือและแผนที่เดินเรืออิเล็กทรอนิกส์ การรวบรวม จัดพิมพ์ เผยแพร่ และปรับปรุงข้อมูลทางอุทกศาสตร์ที่จำเป็นให้ทันสมัยเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ นอกจากก่อให้เกิดความปลอดภัยในการเดินเรือและการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ชาวเรือแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งต่อให้กับรุ่นต่อไป ในการรองรับการตรวจสอบประเทศสมาชิก ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศภาคบังคับ (IMO Member State Audit Scheme : IMSAS) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ.1974 นำไปสู่ การลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ การคมนาคมขนส่งทางน้ำที่ปลอดภัยต่อไป

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้