ระบบทุ่นเครื่องหมายทางเรือ (MBS) ตอนที่ 1

Last updated: 18 เม.ย 2556  |  15961 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ระบบทุ่นเครื่องหมายทางเรือ (MBS)  ตอนที่ 1

ระบบทุ่นเครื่องหมายทางเรือ (MBS) และเครื่องหมายทางเรืออื่น ๆ
ประวัติความเป็นมา
ก่อนปี ๑๙๗๖
             ทั่วโลกมีการใช้งานระบบทุ่นเครื่องหมายทางเรือที่แตกต่างกันมากกว่า ๓๐ ระบบ ซึ่งส่วนมากมีกฎเกณฑ์การใช้งานที่ขัดแย้งกัน 
การขัดแย้งกันเกี่ยวกับใช้ทุ่นไฟนี้ มีมายาวนานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายศตวรรษที่ ๑๙เช่น บางประเทศใช้ไฟสีแดงกำกับทางด้านกราบซ้ายของร่องน้ำ ในขณะที่อีกประเทศหนึ่งใช้กำกับทางด้านกราบขวาของร่องน้ำ 
            อีกหนึ่งความเห็นหลักที่แตกต่างกันในการติดตั้งเครื่องหมายเพื่อสนับสนุนชาวเรือ เช่นประเทศส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับระบบเครื่องหมายทางข้าง ที่จะต้องติดตั้งเครื่องหมายทางกราบซ้ายและกราบขวาของเส้นทางเพื่อปฏิบัติตามความเห็นร่วมกันด้านทิศทางอย่างไรก็ตาม อีกหลายประเทศก็นิยมใช้เครื่องหมายจตุรทิศกำหนดพื้นที่อันตราย โดยใช้ทุ่นจำนวนหนึ่งลูกหรือมากกว่าหรือใช้กระโจมไฟติดตั้งในเสี้ยวทิศเพื่อแจ้งที่หมายสิ่งอันตรายที่สัมพันธ์กับเครื่องหมายนั้น ซึ่งระบบนี้มีประโยชน์อย่างมากในทะเลเปิด ในขณะที่ทุ่นเครื่องหมายทางข้างอาจไม่จำเป็นต้องใช้ ข้อขัดแย้งดังกล่าวเกือบจะได้ข้อยุติเมื่อมีการประชุมระหว่างประเทศ ณ กรุงเจนีวาในปี ๑๙๓๖ ซึ่งที่ประชุมได้บรรลุข้อตกลงแต่ยังไม่ดำเนินการให้สัตยาบัน เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงทำให้การดำเนินการดังกล่าวสิ้นสุดลง
ต่อมามีข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องหมายจตุรทิศหรือเครื่องหมายทางข้างแต่แยกออกเป็นสองระบบที่แตกต่างกัน โดยใช้สีแดงสำหรับเครื่องหมายด้านกราบซ้าย และสงวนการใช้สีเขียวสำหรับเครื่องหมายซากเรืออับปาง
          หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง พบว่าเครื่องหมายทางเรือของหลายประเทศ ถูกทำลาย และกระบวนการฟื้นฟู มีความจำเป็นต้องนำมาใช้อย่างเร่งด่วน กฎของเจนีวาจึงถูกนำมาปรับใช้เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีขึ้นและมีความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ยังใช้ได้ ซึ่งนำไปสู่ข้อขัดแย้งบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน่านน้ำด้านยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ
ในปี ๑๙๗๕
สมาคมประภาคารระหว่างประเทศ (IALA) ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ของที่ประชุมประภาคารด้านเทคนิค  ซึ่งประชุมไว้ตั้งแต่ปี ๑๙๒๙  โดยพยายามผลักดันให้เกิดการใช้งานเครื่องหมายทางเรือระบบเดียว

คณะกรรมการด้านเทคนิค ซึ่งจัดตั้งขึ้นจากภัยอันเกิดจากเรืออับปางในช่องแคบโดเวอร์ในปี ๑๙๗๑เพราะซากเรือเหล่านี้ได้กีดขวางเส้นทางเดินเรือ จึงมีความพยายามวางเครื่องหมายในช่องทางเดินเรือให้เป็นที่เข้าใจง่ายต่อชาวเรือโดยมีการตีพิมพ์เผยแพร่หลักการพื้นฐาน ๓ ข้อ ดังนี้

๑. ต้องการรักษาเครื่องหมายทางเรือที่มีอยู่ให้สามารถใช้งานได้นานที่สุดเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย
๒. ต้องการทราบหลักการใช้งานของสีแดงและสีเขียวเมื่อใช้วางกำกับร่องน้ำ
๓. ต้องการรวมกฎเครื่องหมายทางข้างและเครื่องหมายจตุรทิศ
เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้ง  จึงได้มีการแบ่งเครื่องหมายออกเป็น ๒ ระบบ ซึ่งระบบหนึ่งใช้สีแดงกำกับทางด้านกราบซ้ายของร่องน้ำ ในขณะที่อีกระบบหนึ่งใช้สีแดงกำกับทางด้านกราบขวาของร่องน้ำ ซึ่งถูกเรียกว่าระบบA และระบบB
กฎของระบบ A ซึ่งรวมทั้งเครื่องหมายทางข้างและเครื่องหมายจตุรทิศ  ถูกทำให้มีความสมบูรณ์ โดยได้รับความเห็นชอบจากองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) ในปี ๑๙๗๖ และถูกประกาศใช้ในปี ๑๙๗๗โดยค่อย ๆ ถูกเผยแพร่เข้าไปในยุโรป  ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์แอฟริกา และบางประเทศในเอเชีย
ตั้งแต่ปี๑๙๘๐
กฎของระบบB ถูกทำให้สมบูรณ์ก่อนปี ๑๙๘๐ โดยได้รับการพิจารณาให้มีความเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ในอเมริกาเหนือ  อเมริกากลาง อเมริกาใต้ญี่ปุ่นสาธารณรัฐเกาหลี   และฟิลิปินส์
ดูเหมือนว่ากฎสองระบบจะทำให้คณะกรรมการฝ่ายบริหารIALA สามารถรวมระบบทั้งสองให้เป็นหนึ่งเดียวได้ซึ่งรู้จักกันในนาม“The IALA Maritime Bouyage System”โดยระบบนี้ อนุญาตให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลประภาคารสามารถเลือกใช้สีแดงกำกับทางด้านกราบซ้ายหรือกราบขวาตามภูมิภาคพื้นฐานซึ่งทั้งสองภูมิภาคนี้ รู้จักกันในนามภูมิภาคA และภูมิภาคB 
ในการประชุมที่จัดโดย IALA ใน พ.ย. ปี ๑๙๘๐ ภายใต้ความร่วมมือของ IMO และ IHO, หน่วยงานผู้รับผิดชอบงานเครื่องหมายทางเรือจาก ๕๐ ประเทศ และผู้แทนองค์กรที่ทำงานด้านเครื่องหมายทางเรือระหว่างประเทศ ๙ องค์กร ได้มีการร่วมประชุมและตกลงที่จะปรับปรุงกฎที่ได้รวมขึ้นมาใหม่   โดยขอบเขตของการแบ่งภูมิภาคทุ่น ได้ถูกออกแบบและเขียนลงในภาคผนวกแผนที่ ซึ่งที่ประชุมเน้นความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนบ้านและการให้บริการงานด้านอุทกศาสตร์ของระบบใหม่
 

ตั้งแต่ปี ๒๐๑๐

ถึงแม้ว่าระบบทุ่นเครื่องหมายทางเรือ (MBS) ได้ตอบสนองการใช้งานของชาวเรือได้เป็นอย่างดีตั้งแต่ยุค๑๙๗๐ เป็นต้นมา แต่หลังจากที่ได้มีการประชุมของIALA ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ประเทศจีน ในปี ๒๐๐๖  ก็ได้มีการทบทวนการเปลี่ยนแปลงของระบบไฟตามสภาพแวดล้อมการเดินเรือจากการพัฒนาขึ้นมาอย่างมากของเครื่องหมายทางเรืออิเล็กทรอนิกส์ 
ซึ่งที่ประชุมเปิดเผยว่าพื้นฐานสำคัญของ MBS ยังคงมีความจำเป็นต้องใช้อยู่อย่างไรก็ตามเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการเดินเรือตามนวัตกรรมใหม่และเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น ทำให้การยกระดับของ MBS มีความจำเป็น
ในอดุมคติ ระบบเครื่องหมายทางเรือระบบเดียว ยังคงมีความต้องการใช้สำหรับภูมิภาคA และ B ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ของ IALA เห็นว่าเป็นเรื่องเพ้อฝันไม่ปลอดภัยและอาจจะทำไม่สำเร็จ อย่างไรก็ตามด้วยวัตถุประสงค์หลักที่ต้องการพัฒนาความปลอดภัยในการเดินเรือ สามารถกระทำได้ด้วยการเพิ่มลักษณะเฉพาะของเครื่องหมายทางเรือ อย่างเช่นการใช้จังหวะไฟเป็นเครื่องกำหนดทางด้านกราบซ้ายและกราบขวาของร่องน้ำ โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิภาค
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในปี ๒๐๑๐ คือการเพิ่มเครื่องหมายทางเรือที่ใช้สำหรับติดตั้งตามคำแนะนำของIALA ที่ใช้อยู่ก่อนหน้านั้น เพื่อให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนของเครื่องหมายทางเรือที่จะต้องใช้ รวมไปถึงทุ่นเรืออับปางฉุกเฉิน (Emergency Wreck Marking Buoy) ที่ใช้แสดงให้เห็นความแตกต่างเฉพาะออกไปจากระบบ MBS เดิม และการผนวกรวมของเครื่องหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางคลื่นวิทยุซึ่งเป็นไปตามแนวคิดการเดินเรืออิเล็กทรอนิกส์กรณีฉุกเฉินตามคู่มือนี้
ดังนั้น ระบบทุ่นเครื่องหมายทางเรือของ IALA จะยังคงช่วยชาวเรือให้สามารถนำเรือไปทุก ๆ ที่ในโลก โดยบอกตำแหน่งและการหลีกเลี่ยงสิ่งอันตราย โดยปราศจากความกลัวข้อผิดพลาดทั้งปัจจุบันและอนาคต ด้วยความร่วมมืออย่างต่อเนื่องของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบทางทะเล                                          
                                                                                                                                                                                                   
ที่มา น.ท.ชัยยศ  คงขวัญ หน.ควบคุมเครื่องหมายทางเรือ กคม.ศสด.อศ.                                                                                                            พบกันตอนต่อไปนะครับ
 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้